ดูพระแท้

ต้นกำเนิด พระซุ้มกอ หนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคีอันขึ้นชื่อลือลั่น

พระบรมธาตุนครชุม

สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ อย่างศิลปะสุโขทัย แต่ปัจจุบันเป็นเจดีย์แบบพม่า 
เนื่องจากเศรษฐีพม่าผู้หนึ่งได้มาบูรณะเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปี มาแล้ว

พระบรมธาตุองค์นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในสำเภาเงินอยู่ถึง ๙ องค์ 
มีความเชื่อว่า ผู้ใดได้บูชาพระบรมธาตุเหมือนกับได้นบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง 
ทำให้ประชาชนจำนวนมากมายพากันมาสักการบูชาพระบรมธาตุ นครชุม 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์ 

 

วัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕ หมู่ที่ ๓ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นวัดประจำจังหวัด ขึ้นทะเบียนเป็นวัด เมื่อ พ.ศ. ๑๘๕๘ ในสมัยต้นสุโขทัย 

วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็น ๑ ในโบราณสถานนครชุมที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนาน มีความเจริญรุ่งเรืองมากว่า ๒๐๐ ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมล่มสลาย เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองพังพินาศ ความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือ เมืองกำแพงเพชรได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า ๓๐๐ ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 

ตามตำนานเล่าขานกันว่า เดิมทีเป็นพระธาตุเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ๓ องค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ราวปีพ.ศ. ๑๙๐๐ หรือประมาณ ๖๐๐ ปีก่อน

วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๙ องค์ พระอุโบสถหลังเก่า พระวิหารโบราณ วิหารพระนอน ศาลาเรือนไทย และศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน

วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนจากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๔๙ ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า...

ใน พ.ศ. ๒๓๒๙ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม มาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จ ได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์  ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชร พระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ไปป่าวร้องให้ประชาชนแผ้วถาง พบเจดีย์ตามจารึก จึงปฏิสังขรณ์ขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ (ซงพอ หรือ พระยาตะก่า) พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯ จึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๑๘ ซงพอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๔๘ พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ เริ่มปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน ๖ พ.ศ. ๒๔๔๙ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง ๓ เดือน
 
 
ต้นพระศรีมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์มหึมาขนาด ๙ คนโอบ
ชาวกำแพงเพชรเชื่อกันพระยาลิไท ทรงปลูกเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ 
ผู้คนแต่โบร่ำโบราณเชื่อว่า ถ้าผู้ใดกราบไหว้บูชาต้นโพธิ์เสมือนได้บูชาพระพุทธเจ้าเช่นกัน
แต่ปัจจุบันความเชื่อนี้ได้จางหายไป
 
เมืองนครชุม
   
เมืองนครชุมปรากฏในศิลาจารึกหลัก ที่ ๓ (จารึกนครชุม) จารึกหลักนี้ ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๙๐๐ มีเนื้อหาว่าพระมหาธรรมราชาลิไทได้ทรงมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาที่เมืองนี้ เดิมมีการอ่านตีความจารึกหลักนี้เป็นคำว่า "นครปุ"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า นครปุ ที่ว่านี้น่าจะหมายถึงกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่มีบริเวณกว้างขวางนอกเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปทิศเหนือ

แต่ในภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจสอบแล้วว่าน่าจะเคยปักอยู่ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งตะวันตกของเมืองกำแพงเพชรมาก่อน และมีการแก้คำอ่านเป็น นครชุม 

นครชุมอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พบโบราณสถานแบบสุโขทัยจำนวนมาก อาทิ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน ๖ พ.ศ. ๒๔๔๙ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง ๓ เดือน
 
 
วัดซุ้มกอ ปัจจุบันเหลือเพียงซากเจดีย์เก่าองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีสภาพเป็นวัด

 
 
 
เมืองต้นกำเนิดพระซุ้มกอ
ในปี พ.ศ. ๒๓๙๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เดินทางมากำแพงเพชรและพบซากปรักหักพังของเจดีย์ ๓ องค์ ท่านจึงให้พระยาน้อย เจ้าเมืองกำแพงเพชรบูรณะเจดีย์ทั้ง ๓ องค์

เมื่อรื้อเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ก็พบพระพุทธรูป กรุพระเครื่องต่างๆ มากมาย อาทิ พระทุ่งเศรษฐี พระท่ามะปราง พระพลูจีบ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก ที่สำคัญที่สุด คือพบพระซุ้มกอ มีหลากหลายพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

ส่วนพระราชวชิรเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ นครชุม กล่าวถึงเรื่องราวของกรุพระเครื่องของวัดพระบรมธาตุ ว่า ตามตำนานการสร้างพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรจากจารึกลานเงินที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุเมืองนครชุม ค้นพบโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

มีใจความสำคัญว่า มีฤๅษี ๑๑ ตน ฤๅษีเป็นใหญ่ ๓ ตน ชื่อฤๅษีพิลาไลย ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตางัว คิดทำพระเครื่องถวายแด่พระยาศรีธรรมาโศกราช จึงไปนำวัตถุมงคลมาประกอบเป็นพระเครื่องปลุกเสกเป็นพระเครื่อง

พระราชวชิรเมธีเล่าว่า จากการที่เมืองกำแพงเพชรของเรามีพระดี ทำให้วัดทุกวัดกว่าร้อยวัด ถูกขุดไม่มีชิ้นดีในช่วง ๘๐ กว่าปีที่ผ่านมา ราว พ.ศ. ๒๔๗๐ คนทุกสารทิศต่างมาล่าพระเครื่องเมืองกำแพงกันอย่างชุลมุน แม้จะผิดกฎหมาย แต่ไม่มีใครเกรงกลัว ต่างขุดกันจนทำให้โบราณสถานและโบราณวัตถุพินาศสิ้นแม้ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. ๒๕๕๐) ก็ยังมีการลักลอบขุดกันเนืองๆ

"มีผู้เฒ่าเล่าว่า ผู้คนที่ขุดพบจะเอาเฉพาะพระบูชา ส่วนพระว่านหน้าทองนั้น ก็จะลอกเอาเฉพาะทองไปหลอมสิ้น เพื่อทำลายหลักฐาน ทิ้งองค์พระไว้ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ ปล่อยให้สลายไปตามธรรมชาติ ผู้ขุดพบพระว่านหน้าทอง เล่าว่าจะพบไม่มาก ในกรุๆ หนึ่ง พบทั้งพระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระท่ามะปราง พระเปิดโลก พระพลูจีบ" 
 
 
พระซุ้มกอ (พิมพ์มีกนก ) เมืองกำแพงเพชร

เก่ง กำแพง

เก่ง กำแพง เก่ง กำแพง

ร้านพระเครื่อง