ดูพระแท้

หลวงวิจารณ์เจียรนัย มาช่วยออกแบบ พระสมเด็จ

 

 

 หลวงวิจารณ์เจียรนัย มาช่วยออกแบบ
 
               หลวงวิจารณ์เจียรนัยได้เข้ามาช่วยสมเด็จท่านแกะพิมพ์พระตั้งแต่ปลายยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 และแกะแม่พิมพ์พระถวายต่อมาถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นเวลานานพอสมควร ในการแกะพิมพ์ในตอนแรกคือปลายสมัยยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยความใหม่ต่อการทำแม่พิมพ์งานที่ออกมาจึงดูไม่เรียบร้อย พิมพ์พระจะไม่มีรอยกรอบแม่พิมพ์ เวลาถอดพระออกจากแม่พิมพ์เอามาตัดแต่งจะใช้ตอกตัด(ตอกคือไม้รวก - ไม้ไผ่เหลาให้บางเป็นคมมีด) คนตัดแต่งที่เผลอไม่ระวังหรือตัดไม่ชำนาญจะตัดแฉลบเข้าหาซุ้มพระทำให้แหว่ง ดูไม่สวยและเสียหายมาก และพุทธศิลป์ขององค์พระยังไม่งามนัก บางพิมพ์เอวลอย เอวขาด เอวหนา ดูอ้วนไปบ้าง แขนหรือพระหัตถ์ไม่เท่ากันไม่สมดุลย์โย้เอียงไป ซอกรักแร้สองข้างไม่สมดุลย์ข้างซ้ายลึกกว่าข้างขวา หัวไหล่ไม่เสมอข้างขวามนข้างซ้ายตัดเอียงลงดูไม่สวย หูหรือพระกรรณ์ในแม่พิมพ์มี แต่พอพิมพ์ออกมาแค่ติดรางๆ ฐานสิงห์ชั้นกลาง ฐานไม่คมขาฐานจะติดชัดข้างติดไม่ชัดข้างดูไม่สวยงาม ซึ่งเป็นยุคกลางของคุณหลวงที่แกะพิมพ์พระ
                    การแกะพิมพ์พระชุดใหม่ของท่าน จะเพิ่มการตัดขอบพระโดยเพิ่มเส้นกรอบให้รู้ตำแหน่งการตัด เพราะพระพิมพ์ใหญ่ของท่านซุ้มครอบแก้วด้านบนจะเล็กกว่าด้านล่างจึงต้องทำ เส้นกรอบด้านซ้ายให้ลงมาตรงขอบซุ้มตรงบริเวณแนวกลางแขนซ้ายพระ ส่วนขอบพระด้านขวาเส้นกรอบจะลงมาชนเส้นซุ้มแถวฐานชั้นล่าง กรอบบนจะทำเส้นกรอบให้ชัดขึ้นมองเห็นเป็นเส้นชัดเจนให้ตัดได้ พิมพ์ที่แก้ไขแล้ว มีเวลาช่างตัดขอบพระมักจะตัดออกมา เป็นแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างซ้ายพระจะตัดตรงลงมานอกกรอบ เลยกลายเป็นเส้นกรอบสองเส้นไป ด้านขวาพระก็เช่นกันจะมีเส้นกรอบสองเส้นในบางองค์ บางองค์ก็ตัดตามเส้นกรอบก็จะมีเส้นเดียว พระที่แก้แม่พิมพ์แล้วจึงมีเส้นกรอบทางด้านซ้ายติดอยู่ นักสะสมพระในปัจจุบันนับถือเป็นตำหนิพิมพ์ที่สำคัญ ถ้าพระองค์ไหนมีเส้นกรอบชัดเจนจะถือว่าถูกพิมพ์มีราคา เลยเรียกเส้นกรอบนี้ว่า เส้นวาสนาหรือเส้นเงินเส้นทอง พระองค์ไหนไม่มีหรือตัดไม่ชัดจะกลายเป็นพระผิดพิมพ์ไป ซื้อขายเป็นพุทธพานิชไม่ได้ ร้ายไปกว่านั้นเซียนบางคนตีเก๊ไปเลยก็มี เออ ! อนิจจา เซียนดูพระตาเปล่า
 
                    ในยุคท้ายๆของสมเด็จโตทางวัดจะทำบุญฉลองอายุท่านที่ย่างเข้าปีที่ 85 (พ.ศ.2415)  พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นสุดท้ายมีการสร้างพระขึ้นมาใหม่ โดยทางหลวงวิจารย์เจียรนัยอาสาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เป็นพระพิมพ์ใหญ่หลายแม่พิมพ์ ท่านได้แก้ไขข้อบกพร่องหลายๆอย่างทำเป็นแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาโดย อาศัยพุทธศิลป์พระบูชา สมัยเชียงแสน,สุโขทัย เป็นแม่แบบ จุดเด่นของแม่พิมพ์ชุดนี้มีดังนี้
 
1. ไม่มีเส้นตัดกรอบเหมือนแต่ก่อน แต่จะเป็นบล็อคแม่พิมพ์สำเร็จรูปถอดออกมาได้เลย ด้านซ้าย - และขวาขององค์พระจะสมดุลย์เท่ากัน
2. องค์พระจะสง่างามผึ่งผาย อกผายไหล่ผึ่ง แขนทั้งสองข้างทิ้งดิ่งตรงมาหักศอกตรงเข่าเหมือนกันสองข้าง บางพิมพ์จะเอวหนาผายหน่อย ตามศิลปะพระบูชาเชียงแสน,สุโขทัย ผสมผสานกันได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว
3. เส้นซุ้มครอบแก้วจะหนาใหญ่ ทรงระฆังคว่ำ ซ้ายขวาจะสมดุลย์กัน ไม่เหมือนพิมพ์ที่มีเส้นขอบ
4. ฐานสิงห์จะมีฐานคมชัดทั้งสองข้าง
5. เนื้อพระจะแข็งแกร่งหนึก มากกว่าพระรุ่นก่อน พื้นผิวจะมีตังอิ๊วมากวรรณะจึงออกนำตาล
6. ด้านหลังพระจะเรียบหรือย่นๆเหมือนผิวคอนกรีตที่ไม่ขัดมัน 
 
                    พระในชุดนี้ทำจำนวนจำกัดแค่ 85 องค์ เพื่อฉลองอายุ 85 ปีของท่าน มีบางคนวิจารณ์การทำพระฉลองอายุที่นิยมทำให้เกินอายุเข้าไว้ แต่นี่ท่านอายุครบ 85 ปี ทำไว้ 85 องค์เหมือนทำให้ท่านมรรณภาพตอนอายุ 85 ปี มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเองให้กรรมการทำเพียง 85 องค์เพราะท่านอายุแค่ 85 เท่านั้นเลยต้องทำตามท่านว่า หลังจากท่านมรณธภาพแล้วเณรรูปหนึ่งไปเก็บทำความสะอาดสถานที่ที่ท่านนั่ง ประจำ เณรไปเปิดผ้าออกเห็นเป็นลายมือท่านเขียนวันเวลาที่จะมรณะภาพไว้ที่กระดาน หลังที่ท่านนั่ง เมื่อมาตรวจสอบวันเวลาดูจะตรงกับที่ท่านมรณะภาพจริงๆ นี่ก็เพราะท่านเป็นอริยะสงฆ์สำเร็จอภิญญา 6 ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ระลึกชาติได้
                    ในลำดับต่อไปนี้ จะเป็นตำราเพื่อเป็นจุดสังเกตุ เพื่อดูลักษณะเด่นของพระพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งท่านได้เข้ามาแกะพิมพ์พระสมเด็จในยุคหลัง (รุ่นสุดท้าย)

1. เนื้อพระ จะเป็นหินเปลือกหอยดิบ หรือที่เรียกว่าปูนเปลือกหอยดิบเนื้อพระจะแน่นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ไม่มีรอยแตกให้เห็น ผิวเนื้อพระจะมีสีขาวอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอ่อน มีคราบตังอิ๊วเป็นสีน้ำตาลติดอยู่ตามผิวพระ หรือตามรอยแยกหดตัวของพระจะมีตังอิ๊วอุดอยู่ที่เราเรียกว่ารอยหนอนด้นบางคน เรียกว่ารอยปูไต่ ด้านข้างองค์ที่มีมวลสารมากๆจะหดตัวมองเป็นร่องช่องโหว่เข้าไป เนื้อพระจะมีทั้งเนื้อแน่นละเอียด และแบบหลวมหยาบเพราะมีมวลสารมาก

2. พื้นผิวพระ สีจะออกขาวอมเหลืองหรืออมน้ำตาล ผิวจะย่นด้านหน้า เพราะเนื้อจะยุบหดตัวตรงที่มีมวลสารพระหัก มีเศษพระหัก มีพระธาตุ มีอัญมณี จะเป็นรอยยุบโบ๋ลงไปมองเห็นก้อนมวลสารนั้นได้ ถ้ามวลสารนั้นเป็นอินทรีย์สารพวกว่านไม้มงคลที่ผุพังได้ ก็จะเห็นรอยเป็นหลุมไม่มีมวลสารที่เรียกว่าหลุมโลกพระจันทร์รอยรูเข็ม ผิวพระองค์ที่สมบูรณ์จะมีรอยคราบสีขาวฝังอยู่ตามผิวพระที่เรียกว่า คราบแป้งรองพิมพ์ติดฝังอยู่ในพื้นผิวจะไม่หลุดถ้าไม่ไปขัดล้างพื้นผิวจะเป็น 3 มิติลดหลั่นกันจากนอกซุ้ม ในซุ้ม ซอกแขนและรักแร้จะเป็นสามมิติ

ด้านหลังพระพื้นผิวจะเรียบก็มี เป็นรอยขรุขระก็มี เป็นรอยเส้นนูนก็มี หรือที่เรียกว่ารอยกาบหมากหรือรอยกระดาน รอยกาบหมาก หรือรอยกระดานจะมีเพียงบางองค์เท่านั้น คือเกิดจากตอนที่อัดเนื้อพระลงแม่พิมพ์ เขาใช้กาบหมากหรือแผ่นกระดานปิดทับ หลังพระบนแม่พิมพ์แล้วเอาค้อนยางตอก ถ้าองค์ไหนตอกเสมอพอดีก็จะมีรอยเส้นกาบหมากเส้นเสี้ยนไม้กระดานติดอยู่ ถ้าองค์ไหนตัดไม่ลงเนื้อเกินก็จะปาดออก จะมีรอยปาดเป็นเส้นเป็นขยักที่เรียกว่ารอยขั้นบันได ด้านหลังริมขอบพระจะมีรอยแยกปริมีตังอิ๊วมาอุดอยู่ที่เรียกว่ารอยหนอนด้น บางคนเรียกรอยปูไต่ ความจริงแล้วรอยปูไต่จะเป็นหลุมเล็กๆ เป็นแนวเส้นโค้งตามด้านหลังพระ เกิดจากการปาดหลังพระก่อนถอดพิมพ์ เหมือนรอยตีนปูเวลามันเดิน รอยตีนจะเรียงเป็นเส้นโค้ง บางองค์จะมีรอยพรุนเท่ารูเข็มเรียกว่ารอยตีนปูอยู่ถ้าพระองค์นั้นใส่ อินทรีย์สารไปด้วย

ขอบข้างพระ องค์ที่เนื้อแน่นจะมีรอยร่องยุบตัวเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้ ส่วนองค์เนื้อหยาบมีมวลสารด้านข้างจะมีรอยยุบตัวเป็นร่อง เป็นหลุมลึก เห็นเม็ดมวลสารชัดเจน บางองค์ที่ลงลักปิดทองหรือลงเทือกชาด พอรักร่อนจะเห็นลักอุดอยู่ในร่องที่แยกออกลักษณะเหมือนหนอนด้น พระสมัยหลวงวิจารณ์ที่ลงลักไว้ผิวจะไม่แตกลายงา ลายสังคโลก

3. ซุ้มและองค์พระ เส้นซุ้มจะหนาใหญ่ส่วนบนแคบกว่าส่วนล่าง เป็นรูประฆังคว่ำ ขอบเส้นซุ้มด้านนอกจะเอียงลาด ด้านในจะตั้งมากกว่า องค์พระพิมพ์ใหญ่จะเหมือนพระสมัยสุโขทัย พิมพ์เจดีย์จะเหมือนพระแก้วมรกต พิมพ์ฐานแซมจะเหมือนพระอู่ทองอกร่องผอมบาง พิมพ์เกศบัวตูมจะเหมือนพระเชียงแสน

4. ตำหนิที่ซ่อนเร้น 

พิมพ์ใหญ่ มีเส้นผ้าทิพย์บางๆ ซ่อนอยู่ใต้เข่า มีหูพระลางๆ มีขอบสังฆาฏิรักแร้ขวาบางๆ หัวไหล่ขวามน หัวไหล่ซ้ายตัดเอียง ช่องรักแร้ซ้ายสูงกว่าช่องรักแร้ขวา ใต้รักแร้ขวามีรอยเข็มขีด ฐานชั้นกลางบางคนมีฐานสิงห์ชัดข้างไม่ชัดข้าง ฐานล่างหนา ตรงกลางยุบลงมองดูเป็นขอบฐาน ขอบจะชี้เข้ามุมเส้นซุ้ม

พิมพ์เจดีย์ มีขอบสังฆาฏิขวาลากลงมาถึงท้องพระ มีหูลางๆ เกศขยักเป็นตุ่ม ขาซ้อนขัดสมาธิเพชรเห็นหัวแม่เท้า แขนท่อนบนใหญ่กว่าท่อนล่างมาก ฐานชั้นที่ 1 หัวแหลมทางด้านขวา มุมฐานล่างด้านขวาจะมีเส้นเล็กๆชี้ไปเข้ามุมซุ้ม ฐานชั้นแรกจะมีฐานแหลมข้างขวา

พิมพ์ฐานแซม นั่งขัดสมาธิเพชร มีรอยสังฆาฏิจากองค์พระถึงเอว หูยานเกือบถึงบ่า มีเส้นแซมฐาน 1 - 2ชั้น มีทั้งอกนูนและอกร่องขอบสังฆาฏิ

พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์แรกเส้นแซมบนมีรอยขาดเป็น 2 ท่อน และไม่มีรอยขาดเรียก "แซมขาด และแซมเต็ม" พิมพ์ที่สองมีเนื้อเกินใต้แขนขวา
                จากการบันทึก ของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์ ) เกี่ยวกับเรื่องมวลสารในการสร้างพระสมเด็จ ดังนี้ 
                    “อนุมานดูราวๆ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ ปี ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทำด้วยผงบ้าง ลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าวเขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง ชันบ้าง ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง เมื่อเข้าไปมองดูคนตำ คนโขลก มีจาม มีไอขึ้นมา ท่านก็ บอกว่าเอาใส่เข้าลงด้วย เอาใส่เข้าลงด้วย แล้วว่าดีนักจ้ะ ดีนักจ้ะ เสร็จแล้วตำผสมปูนเพ็ชร กลางคืนก็นั่งภาวนาไปกดพิมพ์ไป ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกระวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว ยังอีก ๘ หมื่น ๔ พัน ที่สาม กับที่สี่”
                   วิเคราะห์ได้ว่า หลวงวิจารณ์เจียรนัย เข้ามาช่วยแนะนำการใช้น้ำมันตั้งอิ้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 โดยประมาณ เพราะจากบทบันทึกที่ว่า “ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกระวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว” หลวงปู่โต ได้เลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็น พระเทพกระวี ใน ปี พ.ศ.2397 และ ดำรงตำแหน่ง ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปี พ.ศ. 2407 แต่เหตุการณ์ที่บันทึกข้างต้น เป็นเหตุการณ์ใน ปี พ.ศ. 2410 ซึ่งมีการทำพระพิมพ์สามชั้น จำนวน 84000 องค์ โดยมีการบันทึกได้กล่าวถึงมวลสาร ที่ใช้น้ำมันตั้งอิ้วที่กล่าวว่า “ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔๐๐๐ องค์ ทำด้วยผงบ้าง ลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าวเขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง” และ ท่านน่า จะช่วยออกแบบพิมพ์พระสมเด็จในช่วงเวลาเดียวกัน คือ ประมาณ ปี พ.ศ. 2406 และในช่วงนั้น มีเหตุการณ์ การสร้างพระนั่งโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ในช่วง ปี พ.ศ. 2406-2407 และ สร้างเสร็จใน ปี พ.ศ. 2410 ใช้เวลาในการสร้างถึง 3 ปี งานชิ้นแรก น่าจะเป็น กรุวัดเกศไชโย และ วัดระฆังฯ นอกจากนี้ได้แจกจ่ายให้แก่ผู้ศรัทธา ในช่วงบิณฑบาต
                     การสร้างพระสมเด็จ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 มีงานออกแบบพิมพ์ ที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่มาช่วยอยู่ 2 งานใหญ่ๆ
               งานหนึ่ง..เป็นงานที่ หลวงปู่โต สร้างพระสมเด็จ ที่วัดระฆังฯ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 หรือ ส่วนหนึ่งเป็นพระสมเด็จที่พิมพ์ไว้แล้ว และได้นำออกมาแจกงานศพของท่านเจ้าประคุณฯ ในปี พ.ศ. 2415
                 และ อีกงานหนึ่ง... สมเด็จกรุวังหน้า ก็เป็นงานที่หลวงวิจารณ์เจียรนัย กับ หลวงสิทธิประสงค์ ผู้ควบคุมช่างสิบหมู่ (ช่างหลวง) ประดิษฐ์แม่พิมพ์เพื่อสร้างพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นชุดหนึ่ง 
                       การสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำพิมพ์ของวัดระฆังมาส่วนหนึ่ง และทำเพิ่มขึ้นอีกมากมายเพื่อเร่งให้ได้พระ ๘๔,๐๐๐ องค์ ทันวันงาน พวกช่างวังหน้า วังหลัง วังหลวง อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงนฤมลวิจิตร เป็นหัวหน้า จึงช่วยกันทำแม่พิมพ์พระขึ้นมากมาย ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีกี่พิมพ์ เพราะหาได้ไม่ครบ พิมพ์พระเหล่านี้ส่วนมากคล้ายพิมพ์ทรงนิยมของวัดระฆัง เช่นพิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เศียรบาตร พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์อกร่องหูยาน พิมพ์โบราณเช่น พระรอดลำพูน พระลีลาเม็ดขนุน พระซุ้มกอ พระนางพญา พระผงสุพรรณ พระปิดตา พระสังกัจจายน์ เป็นต้น
                        พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และคณะ (พิธีหลวง) สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรีร่วมกับ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) หรือเจ้าคุณกรมท่า เนื่องในวรโรกาสเฉลิมครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ปี พ.ศ. 2411
ส่วนการสร้างพระสมเด็จ บางขุนพรหม ที่เสมียนตราด้วง ได้มีการขอแม่พิมพ์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในปี พ.ศ. 2413 ซึ่งแม่พิมพ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ออกแบบโดย หลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งถือว่าเป็นงานยุคปลายของหลวงวิจารณ์ เจียรนัย และ มีการออกแบบให้เพิ่มเติมอีกด้วย

เก่ง กำแพง

เก่ง กำแพง เก่ง กำแพง

ร้านพระเครื่อง